Skip to content
www.smartgrowththailand.orgwww.smartgrowththailand.org
www.smartgrowththailand.org
SMART GROWTH THAILAND
  • HOME
  • ABOUT US
  • NEWS & ACTIVITY
  • VIDEO
  • SGT NETWORK
  • CONTACT
  • HOME
  • ABOUT US
  • NEWS & ACTIVITY
  • VIDEO
  • SGT NETWORK
  • CONTACT
August 6, 2017design, mass transit, news, tod, urban design, รถรางเบา


0

 

เตรียมผุดรถไฟฟ้ารางเบา 3 เส้นทางแก้จราจรเมืองเชียงใหม่

 

สนข.จัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 3 (ปัจฉิมนิเทศ) โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ เปิด 2 ทางเลือก โครงข่ายระบบราง ระบบรถไฟฟ้ารางเบา 3 เส้นทางแก้จราจรเมืองเชียงใหม่

 

นายประจวบ กันธิยะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยในการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 3 (ปัจฉิมนิเทศ) โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ ว่าจังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากมีศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมทั้งจากชาวไทยและชาวต่างประเทศ เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาของภาคเหนือ รวมถึงเป็นศูนย์กลางการเดินทางที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่พื้นที่ต่างๆ ในภูมิภาค และประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยลักษณะดังกล่าว จึงทำให้เมืองเชียงใหม่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนก่อให้เกิดปัญหาด้านคมนาคมขนส่ง ปัญหาการจราจรที่แออัดคับคั่งในเขตเมือง เกิดความไม่สะดวกในการเดินทางของประชาชน ซึ่งการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ของ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในครั้งนี้จะทำให้เขตเมืองเชียงใหม่มีระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน

 

 2

นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการ สนข.

 

นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการ สนข. เปิดเผยว่า สนข.ได้จัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 3 (ปัจฉิมนิเทศ) โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในเขตเมืองเชียงใหม่ และแก้ไขปัญหาการจราจรอย่างยั่งยืน โดยกำหนดโครงข่ายเส้นทางและรูปแบบของระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมา สนข.ได้จัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นมาแล้วจำนวน 2 ครั้ง และจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) 5 ครั้ง ซึ่งจากการวิเคราะห์สภาพข้อเท็จจริงและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ระบบขนส่งสาธารณะที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่ คือ ระบบรถไฟฟ้ารางเบา หรือ Light Rail Transit System (LRT) โดยมีทางเลือกสำหรับโครงข่ายเส้นทางที่เหมาะสม 2 ทางเลือก คือ

ทางเลือกที่ 1 โครงข่ายแบบ A เป็นโครงข่ายที่ใช้ทางวิ่งบนดินและใต้ดิน ประกอบด้วย 3 เส้นทางหลัก ได้แก่

 

  1. เส้นทางสายสีแดง ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร เริ่มต้นจากโรงพยาบาลนครพิงค์-ศูนย์ราชการ จังหวัดเชียงใหม่ และสนามกีฬา 700 ปี-ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่ และเริ่มใช้ทางวิ่งใต้ดิน ที่บริเวณแยกข่วงสิง-โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่แล้ว กลับขึ้นใช้ทางวิ่งบนดิน ก่อนจะไปสิ้นสุดที่ทางแยกแม่เหียะสมานสามัคคี (แยกบิ๊กซีหางดง)

 

  1. เส้นทางสายสีเขียว ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร เริ่มต้นจากแยกรวมโชค เข้าสู่เส้นทางวิ่งใต้ดิน ที่แยกแม่โจ้ (แยกโรงพยาบาลเทพปัญญา)-ตลาดวโรรส-เชียงใหม่ไนท์บาซาร์-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่แอร์พอร์ต ก่อนจะไปสิ้นสุดที่ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่

 

  1. เส้นทางสายสีน้ำเงิน ระยะทาง 12 กิโลเมตร เริ่มต้นเส้นทางวิ่งใต้ดินจากสวนสัตว์เชียงใหม่-มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หักเลี้ยวลงมาตามถนนคันคลองชลประทาน-แยกตลาดต้นพะยอม-โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ พบจุดตัดกับสายสีแดง ผ่านใต้คูเมือง-จุดตัดกับสายสีเขียว บริเวณเชียงใหม่ไนท์บาซาร์ และกลับขึ้นใช้เส้นทางบนดิน ที่แยกหนองประทีป-ถนนซูเปอร์ไฮเวย์ ก่อนสิ้นสุดที่แยกศรีบัวเงินพัฒนา (แยกพรอมเมนาดา)

 

ทางเลือกที่ 2 โครงข่ายแบบ B เป็นโครงข่ายที่ใช้ทางวิ่งบนดินทั้งโครงข่าย ประกอบด้วย 3 เส้นทางหลัก ได้แก่

 

  1. เส้นทางสายสีแดง ระยะทางประมาณ 15.65 กิโลเมตร เริ่มต้นจากโรงพยาบาลนครพิงค์-ศูนย์ราชการและสนามกีฬา 700 ปี-ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่-มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เชื่อมกับจุดเปลี่ยนสายสีน้ำเงินที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-สนามบินนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่ และสิ้นสุดที่แยกแม่เหียะสมานสามัคคี (แยกบิ๊กซีหางดง)

 

  1. เส้นทางสายสีเขียว ระยะทางประมาณ 11.11 กิโลเมตร เริ่มต้นจากสี่แยกรวมโชค-แยกแม่โจ้ (แยกโรงพยาบาลเทพปัญญา)-ห้างเซ็นทรัลเฟสติวัล-สถานีขนส่งอาเขต-กาดหลวง-เชียงใหม่ไนท์บาซาร์-ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซาเชียงใหม่แอร์พอร์ต และสิ้นสุดที่ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่

 

  1. เส้นทางสายสีน้ำเงิน ระยะทางประมาณ 13.81 กิโลเมตร เริ่มต้นจากสวนสัตว์เชียงใหม่-มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่-จุดตัดระหว่างสายสีแดงที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่-คูเมืองทางด้านทิศใต้-สถานีรถไฟเชียงใหม่-บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ และสิ้นสุดที่แยกศรีบัวเงินพัฒนา (แยกพรอมเมนาดา)

 

ทั้งนี้ โครงข่ายหลักทั้ง 2 ทางเลือกดังกล่าวข้างต้นจะมีโครงข่ายรองและโครงข่ายเสริมเชื่อมโยงกับโครงข่ายหลักด้วยระบบรถโดยสารประจำทาง โดยโครงข่ายแบบ A ซึ่งเป็นทางวิ่งบนดินและใต้ดินมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 106,895 ล้านบาท และโครงข่ายแบบ B ซึ่งเป็นทางวิ่งบนดินมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 28,419 ล้านบาท

 

โดยการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นฯ ในครั้งนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ และรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำไปประมวลผลและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ที่มีความเหมาะสมกับเมืองเชียงใหม่ต่อไป ซึ่งระบบขนส่งสาธารณะด้วยรถไฟฟ้าจะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวก สบาย และปลอดภัยในการเดินทาง ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น และรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่ โดยภายหลังการประชุมสัมมนาฯ ครั้งนี้ สนข.จะจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ฉบับสมบูรณ์ต่อไป

เครดิตบทความ Manageronline

http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9600000079611

 

 

LRT เชียงใหม่TRAM เชียงใหม่รถรางเบาเชียงใหม่เชียงใหม่พัฒนาเมือง
Advertisement

ไก่ย่างบางตาล

ท่านสามารถลงทะเบียน เพื่อรับข่าวสารอิเล็คโทรนิกส์ เราจะส่งข่าวสารให้ท่าน ทางอีเมล์ เพื่อลงทะเบียนรับข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ กรุณากรอกรายละเอียด ของท่านและคลิกปุ่ม “Subscribe”
Name
Email *
Smart Growth Thailand
เครือข่ายพันธมิตร
SmartGrowthThailand สมาคมการผังเมืองไทย พิพิธภัณฑ์เอเซียมิวเซียม Rattanakosin phisanulok2020 60x60-pkcd 60x60-kktt
บทความล่าสุด
  • ข้อบัญญัติเมืองชิคาโกว่าด้วยการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน โดย ดร.ปีดิเทพ อยู่ยืนยง
    September 3, 2020
  • “ขอนแก่นสมาร์ทซิตี้” ใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนพัฒนาเมือง
    November 24, 2019
  • ข้อสรุปการประชุมกฎบัตรกรุงเทพมหานคร กฎบัตรอโศก-พระรามเก้าครั้งที่ 1
    August 27, 2019
  • เครือข่าย Smart Growth หาดใหญ่ชี้ ทิศทางการเติบโตของยวดยานส่วนบุคคลเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเมือง
    August 13, 2019
  • ไทยติดหล่มพัฒนาเมืองไร้ทิศ จี้”รัฐ-เอกชน” ร่วมวงแบรนดิ้ง
    June 15, 2019
  • เชียงใหม่ Smart Bus บริการด้วยใจสำหรับผู้พิการนั่งวีลแชร์ งดเว้นค่าโดยสาร รวมทั้งผู้ติดตาม
    June 15, 2019
  • เชียงใหม่ Smart Bus บริการด้วยใจสำหรับผู้พิการนั่งวีลแชร์ งดเว้นค่าโดยสาร รวมทั้งผู้ติดตาม
    September 15, 2018
  • Downloadสรุปข่าวความเคลื่อนไหว เครือข่ายการพัฒนาเมือง14จังหวัด ฉบับที่ 7 ปี 2561
    June 10, 2018
  • ขอนแก่นโมเดล: ไม่ยอมซ้ำรอยอนาคตแบบ “กทม.”
    May 30, 2018
  • ‘ประจิน’ หนุน 5 เทศบาลขอนแก่น สร้างรถไฟฟ้ารางเบา LRT
    May 27, 2018
www.smartgrowththailand.org
 Dream-Theme — truly premium WordPress themes