ผลการวิเคราะห์พื้นที่ด้วย Smart Growth & LEED-ND
เพื่อการวางผังแม่บทที่อยู่อาศัยรอบสถานีรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง ของการเคหะแห่งชาติ
การประชุมภาคีเครือข่ายเพื่อพิจารณาพื้นที่เหมาะสมในการออกแบบผังแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยรอบสถานีรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูงสำเร็จลงแล้ว วันนี้ อจ.ฐาปนา บุณยประวิตรได้เกริ่นนำแนวทางการจัดตั้งกองทุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยหลายระดับราคา (Guideline for Create Thailand Affordable Housing Fund) โดยยกกรณีตัวอย่างการพัฒนาของเมือง Portland สหรัฐฯ ซึ่งใช้ทั้งกองทุนที่อยู่อาศัย การเว้นภาษี การใช้ Tax Increment financing การลงทุนโดยตรงของภาครัฐ และการใช้มาตรการทางผังเมืองโดยใช้ Density Bonus ควบคู่กับการส่งเสริมเพิ่ม FAR และมาตรการเชิงบวกต่างๆ นอกจากนั้น ยังได้กล่าวถึงมาตรการการสนับสนุนกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยในพื้นที่ TOD ที่เว้นการจัดเก็บภาษีลาภลอยหรือ Tax Batlement เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการลงทุน affordable housing เนื่องจากรายละเอียดมีมาก ดังนั้น ท่านที่สนใจขอให้รอการประชุมใหญ่ผังแม่บทในเดือนหน้าซึ่งโครงการจะระดมกูรูด้านอสังหาริมทรัพน์และ Real Estate Incentive เช่น ท่านนายกพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ และคุณอดิเรก แสงใสแก้ว มาร่วมบรรยายและอภิปรายด้วย
สำหรับผลการศึกษาและวิเคราะห์พื้นที่ตามตัวชี้วัด Smart Growth และ Leed-nd นั้น ในเบื้องต้นพบว่า พื้นที่รอบสถานีรถไฟหัวหินมีความเหมาะสมในการพัฒนาสูงสุด รองลงมาเป็นกรุงเทพมหานคร พิษณุโลก สระบุรี และระยอง ซึ่งการเคหะแห่งชาติจะได้สรุปข้อมูลและสรุปพื้นที่ออกแบบผังแม่บทต่อไป วันนี้ โครงการต้องขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการที่อยู่อาศัย การเคหะแห่งชาติที่กรุณาเป็นประธานการประชุม และขอขอบพระคุณผู้แทนหน่วยงานต่างๆ เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย รฟม. สนข.ขบ.สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตร์ย์ กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมธนารักษ์ กรมการพัฒนาชุมชน สำนักผังเมือง กทม.สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กทม. กรมทางหลวง และหน่วยงานต่างๆ และคุณนนทฤทธิ์ เพชรานนท์ จากภูเก็ตพัฒนาเมือง รวมทั้งทีมวิทยากร อจ.ธรรมรงค์ ราชามุสิกะ อจ.อนุชิต พิเชียรโสภณ ขอบคุณทีมงาน Asiamuseum ทุกคนที่ร่วมทำงานหนักชิ้นนี้ พบกันใหม่เดือนหน้าที่โรงแรมริชมอนด์ครับ