แนวทางการวางผังกายภาพเมืองเพื่อลดผลกระทบจากภัยพิบัติ ตอนที่ 1
ภัยพิบัติ เกิดกันบ่อยมาก แนวทางการวางผังเมืองจะช่วยลดผลกระทบจากภัยพิบัติ จริงหรือเปล่า? ลองอ่านบทความนี้กันก่อน บทความ : แนวทางการวางผังกายภาพเมืองเพื่อลดผลกระทบจากภัยพิบัติ ตอนที่ 1 บทความโดย ฐาปนา บุณยประวิตร อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย 17 พฤษภาคม 2555 บทนำ ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้นเป็นต้นเหตุให้เกิดภัยพิบัติหลากหลายชนิด และแนวโน้มจะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันกลุ่มประเทศตะวันตกได้ตื่นตัวคิดค้นวิธีการแก้ไขปัญหา และพยายามลดสาเหตุของโลกร้อนด้วยการปรับปรุงกายภาพเมืองให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนั้นยังได้แสวงหาวิธีการเพิ่มศักยภาพของกายภาพเมืองเพื่อให้มีความสามารถในการปกป้องตัวเองจากภัยพิบัติ สำหรับประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียนแม้จะมีการกล่าวถึงปัญหานี้อยู่มาก แต่ยังมองไม่เห็นความพยายามอย่างจริงจังในการลดสาเหตของปัญหา รวมทั้งยังไม่พบภาพร่างแนวทางที่มีศักยภาพในการปรับปรุงกายภาพเมืองให้รองรับต่อภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นทางเลือกในการปรับปรุงผังกายภาพในการลดผลกระทบจากภัยพิบัติ วันนี้จึงขอนำบางเกณฑ์และบางกลยุทธ์จากแนวคิดการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) และแนวคิดลัทธิชุมชนเมืองยุคใหม่ (New Urbanism หรือ CNU) แสดงให้เห็นโอกาสในการบรรเทาปัญหาและนำเสนอแนวทางเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อไป ภาพน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ.2554 ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ การปรับปรุงกายภาพเมืองเพื่อลดผลกระทบจากภัยพิบัติ แบ่งเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงแรกเป็นการวางแผนการปรับปรุงกายเมืองก่อนการเกิดภัยพิบัติ (Pre-Disaster) และช่วงที่สอง…